วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประเพณีแห่นางแมว อ้อนวอนขอฝน
การแห่นางแมวเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝน ซึ่งจำจัดทำขึ้นในปีใดที่ท้องถิ่นแห่งแล้งฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาล สาเหตุที่ฝนไม่ตก ท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่า น้ำฝนนั้นเป็นน้ำของเทวดา ดังมีศัพท์บาลีว่า เทโว ซึ่งแปลว่า น้ำฝน เป็นเอกลักษณ์ของความดี ความบริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากๆ ควัน และละอองเขม่าน้ำมัน ห่อหุ้มโลกทำให้เป็นภัยแก่มนุษย์ ผู้ที่จะล้างอากาศได้ทำให้ละอองพิษพวกนั้นตกลงดิน ทำให้อากาศสะอาดคือ "เทโว" หรือ "ฝน" นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อฝนหยุดตกใหม่ๆ อากาศจะสดชื่น ระงมไปด้วยเสียงของกบ เขียด 
ความเชื่อ การแห่นางแมวภาคอิสาน
พิธีแห่นางแมวของชาวอีสานเพราะเชื่อว่าเหตุที่ฝนไม่ตกมีเหตุผลหลายประการ เช่น เกิดจากดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง,ประชาชนชาวเมืองหย่อนในศีลธรรม, เจ้าเมืองหรือเจ้าแผ่นดิน ไม่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นต้น ดังนั้น ถ้ามนุษย์อยากให้เทวะคือน้ำฝนที่ดีไม่ใช่ดีเปรสชั่น มาเยี่ยมตามกาลเวลา มนุษย์ก็ควรตั้งอยู่ในศีลในธรรม เพราะคนที่มีศีลมีธรรมท่านจึงเรียกว่า "เทวะ" ทั้งๆ ที่เป็นคน เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เทวะคือฝน กับเทวะคือคนผู้มีคุณธรรม ย่อมจะมาหากันเพราะเป็นเล่ากอแห่งเทวะด้วยกัน เหมือนพระย่อมไปพักกับพระเป็นต้น เหตุนี้ชาวเมือง ชาวอีสานจึงต้องทำพิธีอ้อนวอนขอฝน และการที่ต้องใช้แมวเป็นตัวประกอบสำคัญในการขอฝน เพราะเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใดแมวจะร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเอาเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่า จะเป็นเหตุให้ฝนตกจริงๆ ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้ำและทำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี และชาวอีสานเชื่อว่าหลังจากทำพิธีแห่นางแมวแล้วฝนจะตกลงมาตามคำอ้อนวอน และตามคำเซิ้งของนางแมว
นอกจากแมวจะเข้ามาเกี่ยวข้องในพิธีเกิดและพิธีแต่งงานในวัฒนธรรมไทยแล้ว แมวยังเข้ามามีส่วนร่วมในอีกประเพณีสำคัญของไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน นั่นคือ พิธีแห่นางแมวขอฝน คนไทยในสมัยก่อนเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับศักดิ์สิทธิ์ สามารถเรียกฝนให้ตกลงมาได้ และเมื่อถึงฤดูฝน หากฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล

ชาวไทยโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้น้ำในการเกษตรกรรมจะต้องนำนางแมว (แมวตัวเมีย) โดยคัดเลือกแมวไทยพันธุ์สีสวาด (คนไทยโบราณเรียก แมวมาเลศ ตามภาพ) ตัวที่มีรูปร่างปราดเปรียว สวยงามตั้งแต่ 1-3 ตัว นำนางแมวมาใส่กระบุงหรือตะกร้าหรือเข่งก็ได้ สาเหตุที่ต้องเลือกแมวพันธุ์นี้เพราะเชื่อว่า สีขนแมวเป็นสีเดียวกับเมฆ จะทำให้เกิดฝนตกได้ แต่บางแห่งก็ใช้แมวดำ
ก่อนที่จะนำนางแมวเข้ากระบุง คนที่เป็นผู้อาวุโสที่สุด จะพูดกับนางแมวว่า "นางแมวเอย …ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมาด้วยนะ" พอหย่อนนางแมวลงกระบุงแล้ว ก็ยกกระบุงนั้นสอดคานหามหัวท้าย จะปิดหรือเปิดฝากระบุงก็ได้ แต่ถ้าปิดต้องให้นางแมวโดนน้ำกระเซ็นใส่ ตอนที่สาดน้ำด้วยจะต้องถูกต้องตามหลักประเพณี

ผู้หญิงที่เข้าร่วมในพิธีแห่ จะผัดหน้าขาว ทัดดอกไม้สดดอกโตๆ ขบวนแห่จะร้องรำทำเพลงที่สนุกสนานเฮฮา เมื่อขบวนแห่ถึงบ้านไหน แต่ละบ้านจะต้องออกมาต้อนรับอย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าแมวจะโกรธ และจะบันดาลไม่ให้ฝนตกลงมา และมีความเชื่อว่า ถ้าแห่นางแมวแล้วฝนจะตก ภายใน 3 วันหรือ 7 วัน นอกจากนี้ พิธีแห่นางแมวขอฝน จะเป็นการช่วยเรียกให้ฝนตกแล้ว ยังถือว่าพิธีนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในหมู่บ้านให้แน่นแฟ้นขึ้น เนื่องจากจะต้องมีการช่วยเหลือกันในการประกอบพิธีอีกด้วยองค์ประกอบที่ใช้ในพิธีแห่นางแมว
  1. กะทอหรือเข่ง หรือกระบุง ที่มีฝาปิดข้างบน 1 อัน
  2. แมวสีดำตัวเมีย 1-3 ตัว
  3. เทียน 5 คู่
  4. ดอกไม้ 5 คู่
  5. ไม่สำหรับสอดกะทอให้คนหาม 1 อัน
วิธีแห่นางแมว
  1. ชาวบ้านรวมทั้งคนแก่คนหนุ่มและเด็กส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ปรึกษาหารือกัน คนที่เป็นผู้นำกล่าวเซิ้ง เพื่อให้ผู้ไปแห่ทั้งหมดเป็นผู้ว่าตาม ส่วนใหญ่จะเป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน
  2. หากะทอใบหนึ่งหรืออาจใช้เข่ง หรือกระบุงก็ได้
  3. จับเอาแมวตัวเมียสีดำ หรือแมวไทยพันธุ์สีสวาด (คนไทยโบราณเรียก แมวมาเลศ)  1 ตัวใส่ในกะทอ  ใช้เชือกผูกปิดปากะทอไม่ให้แมวออกได้ และใช้ไม้สอดกะทอให้คนหา 2 คน ตั้งคายด้วยขันธ์ ห้า ป่าวสักเคเทวดา เพื่อให้เทวดาบันดาลให้ฝนตก
  4. ได้เวลาพลบค่ำผู้คนกำลังอยู่บ้าน ก็เริ่มขบวนแห่โดยหากะทอแมวออกข้างหน้า แล้วตามด้วยคนว่า คำเซิ้ง และผู้แห่ว่าตามเป็นท่อนๆ ไป ในขบวนก็จะมีการตีเกราะเคาะไม้เพื่อให้เกิดจังหวะตามไปด้วย และแห่ไปทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านนั้นๆ เมื่อแห่ไปถึงบ้านใครเจ้าของบ้านก็ต้องเอาน้ำสาด
    หรือรดที่ตัวแมวให้เปียกและทำให้แมวร้อง และสาดใส่ขบวนเซิ้งด้วย ประเพณีบางบ้านก็สาดใส่ขบวนเฉยๆ โดยไม่ให้ถูกแมว เพราะปรากฏว่าเซิ้งหนักๆ เข้า แมวตายวันละตัว
แห่นางแมว อิสาน อีกแบบหนึ่ง
ให้เอาแมวมา 1 ตัว ใส่ในกระทอ มีคนหามตั้งคายขัน 5 หามประกอบพิธีป่าวสัคเค เทวาเชิญเทวดาลงมาบอกกล่าวขอน้ำฝนกับเทวดาว่า จะขอฝนด้วยการใช้พิธีแห่นางแมว แล้วสั่งให้พวกหามแมวแห่เซิ้งไปตามถนนในหมู่บ้าน มีคนทั้งชาย หญิง และเด็กเดินถือดอกไม้ตามไปถึงเรือนหลังไหน คนในเรือนหลังนั้นก็เอาน้ำสาดมาใส่ทั้งแมวและคน เล่นเอาทั้งแมวทั้งคนหนาวไปตามๆ กัน ในบางแห่งจะมีการผูกเอวคนหัวล้าน 2 คน ทำฮึดฮัดจะชนกันตามกระบวนไปด้วย บางจุดก็หยุดให้หัวล้านชนกัน สลับคำเซิ้งชาวก็บ้านจะเอาน้ำรดแสดงไปเรื่อยๆ
จะเซิ้งอย่างนี้เริ่มจาก 3 โมงเย็นจนถึง 2 ทุ่ม หรือรอบหมู่บ้านแล้วหยุด พอหยุดไม่นานฝนก็จะตกฟ้าแลบฟ้าร้องฟ้าผ่าตามมา
คำเซิ้ง
แต่ละท้องถิ่นไม่ค่อยเหมือนกัน แต่สิ่งที่รวมอยู่ในคำเซิ้งคือมีการพรรณนาถึงความแห้งแล้งและขอให้ฝนตกเหมือนกัน และเท่าที่ประมวลมาส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้
ตัวอย่าง คำเซิ้งในพิธีแห่นางแมว แบบที่ 1
"เต้าอีแม่นางแมว แมวมาขอไข่ ขอบ่ได้ขอฟ้าขอฝน
ขอน้ำมนต์อดหัวแมวบ้าง บ่ได้ค่าจ้างเอาแมวข้อยมา
บ่ได้ปลาเอาหนูกับข้าว บ่ได้ข้าว เหล้าเด็ดก็เอา
เหล้าโทก็เอา แม่เม่าเอย อย่าฟ้าวขายลูก ข้าวเพิ่นปลูก
ลูกน้อยเพิ่นแพง ตาเวนแดง ฝนแทงลงมา ตาเวนต่ำ
ฝนหน่ำลงมา ตาเวนตก ฝนตกลงมา
ดังเค็งๆข้ามดงมานี้แบ้นบักเลิกแบ้นพ่ออีเถิง
ฮ่งเบิงๆ ฝนเทลงมา ฝนบ่ตกข้าวไฮ่ตายเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้งเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกกล้าแห้งตายพรายเหมิดแล้ว
ตกลงมาฝนตกลงมา เท่งลงมาฝนเท่งลงมา
กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊”
 
ตัวอย่าง คำเซิ้งนางแมว แบบที่ 2
เซิ้งอันนี้เผิ่นว่า เซิ้งนางแมว ย่างเป็นแถวกะนางแมวออกก่อน
ไปตามบ่อนกะตามซอกตามซอย ไปบ่ถอยกะขอฝนขอฟ้า
 เฮาคอยถ้าให้ฝนเทลงมา ตามประสาแมวโพงแมวเป้า
แมวดำกินปลาย่าง แมวด่างกินปลาแห้ง
ฝนฟ้าแล้ง กะขอฟ้าขอฝน
 ขอน้ำมนต์กะรดหัวแมวบ้าง
(ชาวบ้านก็สาดน้ำลงใส่)

เทลงมากะฝนเทลงมา ท่วมไฮ่ท่วมนา
ท่วมฮูปลาไหล ท่วมไม้โสงเสง
หัวล้านชนกันฝนเทลงมา (ซ้ำ)
แห่นางแมว ภาคกลางประเพณีแห่นางแมวเป็นพิธีขอฝนของพวกชาวบ้าน โดยเฉพาะภาคกลาง ปีใดที่ฝนมาล่าหรือแล้งผิด ปกติ อันจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน พืชในไร่นาให้ผลไม่เต็มที่ อาจถึงกับให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงได้ ชาวบ้านก็จะชุมนุมปรึกษาหารือกันเพื่อทำพิธีแห่นางแมวตามที่ทำสืบเป็นประเพณี เพราะเชื่อว่าภายหลังเมื่อแห่นางแมวแล้ว ไม่ช้าฝนก็จะเทลงมาลักษณะความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติช่วงเวลากรณีฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นปัจจัยในการเพาะปลูก สมัยก่อนไม่มีระบบการชลประทาน หรือทำฝนเทียมเช่นปัจจุบัน ตามความเชื่อดั้งเดิม " ฝน" เป็นสิ่งที่เบื้องบนประทานลงมา เมื่อใดฝนไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล การเพาะปลูกพืชพันธุ์ก็ดำเนินไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องทำพิธี "แห่นางแมว"

พิธีกรรม

พระยาอนุมานราชธน ปราชญ์คนสำคัญของไทย ให้ข้อสังเกตว่า แมวเป็นสัตว์ไม่ชอบน้ำ โบราณจึงถือว่าเป็นตัวแล้ง เมื่อแมวถูกน้ำสาดเปียกปอน ก็จะหมดสภาพตัวแล้งไป ชาวบ้านคงถือเคล็ดตรงนี้ จึงมีพิธีแห่งนางแมวสืบต่อกันมา ชาวบ้านก็เชื่อว่าแมวเป็นสัญลักษณ์ของความแห้งแล้งเช่นกัน เมื่อแมวถูกสาดน้ำจะหายแล้ง จึงจับแมวตัวเมียมาใส่ "ตะข้อง" หรือ ชะลอม หรือเข่ง ตะกร้า สุดแต่จะหาได้ อาไม้คานสอดเข้าไปในตะข้อง แล้วพากันแห่ตระเวนไปทั่วหมู่บ้าน ในขบวนแห่มีคนตีกลอง ตีกรับ ตีฆ้อง หรือตีฉิ่ง และจะร่วมกันร้องเพลงแห่นางแมว โดยมีคำร้องสั้นๆ ง่ายๆแต่สัมผัสคล้องจองกันดังนี้
"นางแมวเอย มาร้องแจ้วแจ้ว
นางแมวขอไก่ ขอไม่ได้ ร้องไห้ขอฝน
ขอน้ำมนต์รดแมวข้าที
มีแก้วนัยน์ตา ออกมาเดือนหก ฝนตกทุกที
มาปีนี้ไม่มีฝนเลย
พ่อตาลูกเขย นอนก่ายหน้าผาก
พ่อหม้ายลูกมาก มันยากเพราะข้าว
คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าหัวห้อย
พาเด็กน้อย มาเล่นนางแมว
มาร้องแจ้วฝนก็เทลงมา ฝนก็เทลงมา

เมื่อเคลื่อนขบวนแห่ ต่างก็ร้องบทแห่นางแมว ซึ่งมีข้อความผิดเพี้ยนกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บางบทมี ถ้อยคำกระเดียดไปทางหยาบโลน เมื่อแห่ถึงบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอากระบวยตักน้ำสาดลงไปในชะลอมหรือตะกร้าที่ขังแมวอยู่ จากนั้นเจ้าของบ้านก็ให้รางวัลแก่พวกแห่ เป็นเหล้า ข้าวปลา ไข่ต้ม
หรือของกินอย่างอื่น ส่วนมากมักให้เงินเล็กน้อยแก่คนถือพานนำหน้ากระบวนแห่ เสร็จแล้วก็เคลื่อน ต่อไปยังบ้านอื่นๆ จนสุดเขตหมู่บ้าน แล้วก็กลับมาชุมนุมเลี้ยงดูกันเป็นที่ครึกครื้น พร้อมทั้งปล่อยแมวให้เป็นอิสระ ถ้าฝนยังไม่ตก ก็ต้องแห่ซ้ำในวันรุ่งขึ้นและวันต่อๆ ไปจนกว่าฝนจะตก
ซึ่งสรุปเนื้อหาโดยรวมคือ "ขอให้ฝนตก" เมื่อขบวนแห่ผ่านไปที่บ้านใด ก็จะร้องเชื้อเชิญให้ออกมาร่วมพิธี เจ้าของบ้านก็จะนำกระบวยตักน้ำในตุ่มหน้าบ้าน สาดไปใน "ตะข้องนางแมว"หรือตะข้องที่ใส่แมว เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน และเกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรกรรมพิธีแห่นางแมวนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า จะทำให้ฝนตกและบรรเทาสภาวะเเห้เเล้ง                                                                                                              ประเพณีแห่นางแมว             ประเพณีแห่นางแมวเป็นพิธีกรรมขอฝนของเกษตรกรไทยจัดขึ้นทั้งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงหนือ เมื่อใกล้ฤดูเพาะปลูกแล้วแต่ฝนยังไม่มาหรือมาล่าช้ากว่าปรกติ ส่งผลให้ข้าวในนา พืชในสวนขาดน้ำหล่อเลี้ยง ให้ผลผลิตไม่ได้เต็มที่ ชาวนา ชาวไร่ก็จะจัดพิธีแห่นางแมวขอฝนที่ทำสืบต่อกันมาด้วยความเชื่อที่ว่า หากทำพิธีแห่นางแมวแล้ว อีกไม่ช้าฝนก็จะตกลงมาสมัยโบราณนั้น เชื่อกันว่าที่ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกิดความแห้งแล้งไปทั่วนั้น มีอยู่หลายสาเหตุ เช่น ดินฟ้าอากาศแปรปรวน ผู้คนย่อหย่อนศีลธรรม ผู้ปกครองไม่อยู่ในทศพิศราชธรรม และที่ใช้แมวแห่เพื่อขอฝนนั้น ก็มาจากความเชื่อกันว่า แมวเป็นสัตว์ที่กลัวฝน กลัวน้ำ หากฝนตกเมื่อใดแมวจะร้อง  คนโบราณถือเคล็ดว่า ถ้าแมวร้องแสดงว่าฝนกำลังจะตกบ้างก็เชื่อว่า แมวนั้นเป็นตัวแทนของความแห้งแล้ง หากเมื่อใดแมวถูกสาดน้ำจนเปียกปอนก็เท่ากับเป็นการขับไล่ความแห้งแล้งออกไปจากเมือง เมื่อบ้านเมืองเกิดความแห้งแล้งผิดธรรมชาติ จึงใช้กลอุบายให้แมวร้องออกมา ด้วยการนำแมวมาใส่กระบุงหรือตะกร้าแล้วแห่ไปรอบๆ หากขบวนแห่ผ่านหน้าบ้านใครก็ให้สาดน้ำใส่แมว เพื่อให้แมวร้องออกมา บ้างก็เชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับสามารถเรียกฝนได้ด้วยเหตนี้เมื่อฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล เกษตรกรก็จะนัดหมายเตรียมจัดพิธีแห่นางแมวขึ้น โดยคัดเลือกแมวลักษณะดีสายพันธุ์สีสวาด เพศเมีย ๑ – ๓ ตัว ใส่กระบุงหรือตะกร้าออกแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน ฝนก็จะตกลงมาภายใน ๓ วัน ๗ วัน สาเหตุที่ต้องเลือกแมวสีสวาดก็เพราะคนโบราณมองว่าขนสีเทาคล้ายกับสีเมฆฝน บางแห่งอาจจะใช้แมวดำแทนในระหว่างที่แห่นางแมวจะมีคนทำหน้าที่ร้องเพลงเซิ้ง ตีเกราะเคาะไม้เพื่อให้เกิดจังหวะสนุกสนานได้วย เนื้อหาการเซิ้งก็จะบรรยายถึงความแห้งแล้ง และอ้อนวอนให้ฝนตกลงมา  ขบวนแห่นางแมวจะเคลื่อนไปทั่วทุกหลังคาเรือน โดยมีกติการ่วมกันว่า ขบวนแห่นางแมวไปถึงบ้านใคร บ้านนั้นจะต้องเอาน้ำสาดจะเห็นได้ว่า ในอดีตมนุษย์ต้องพึ่งพาธรรมชาติอยู่เสมอในการเพาะปลูก เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ต้องอาศัยน้ำ ฝนเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูก และเนื่องจากสมัยก่อนยังไม่มีระบบชลประทาน หรือฝนเทียม น้ำฝนจึงเป็นสิ่งเดียวที่ธรรมชาติมอบให้ ช่วยต่อชีวิตให้กับพืชผลการเกษตรในนาไร่ ถ้าปีไหนฝนฟ้าไม่เป็นใจ หรือมาล่าช้ากว่าปรกติ เพราะเพาะปลูกก็จะได้ผลไม่ค่อยดี หรือให้ผลไม่เต็มที่เท่าไหร่นัก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกษตรกรจึงต้องจัดพิธีแห่นางแมวขึ้นเพื่อขอฝน     
                                                                               รูปภาพ 
                                        









   







                                           











     












รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
ตำนานแห่นางแมว
ประเพณีแห่นางแมว